ReadyPlanet.com
อ่านข่าวภูเก็ตออนไลน์บนเฟซบุ๊ค
พอเพียงก็เพียงพอ
หอการค้าจังหวัดภูเก็ต
เทศบาลตำบลราไวย์
เทศบาลตำบลศรีสุนทร
เทศบาลตำบลกะรน
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต
เทศบาลตำบลวิชิต
ห้างสรรพสินค้าจังซีลอน ภูเก็ต
ภูเก็ตไข่มุก Phuket Pearl
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
โรงแรมป่าตองเบย์ฮิลล์
บ้านศิลาชล ระยอง
Touch Star Resort เชียงใหม่
โรงแรมเครือกะตะกรุ๊ป
โรงแรมรอยัลพาราไดส์แอนด์สปา
Marina Phuket  Resort
โรงแรม Orchidacea Resort
โรงแรมกะตะธานี
ร้านคุณแม่จู้
ม.อ.ภูเก็ตPSU Phuket
บทความLifeStyle


ที่นี่ ..ภูเก็ต article

นักเดินเรือในสมัยก่อนจะรู้จักเกาะแห่งนี้ในชื่อว่า จังซีลอน แต่เดิมนั้นไม่ได้ใช้ชื่อนี้หากแต่ใช้ชื่อ ภูเก็จ แปลว่า เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับความหมายเดิมที่ชาวทมิฬเรียกเมืองแห่งนี้ว่า มณิคราม ตามหลักฐานที่ปรากฎเมื่อ พ.ศ. 1568 ปัจจุบันภูเก็ตเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ที่มีประวัติความเป็นมานานนับพันปี เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือในสมัยก่อนที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดียผ่านแหลมมลายู มีหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดคือหนังสือภูมิศาสตร์ และแผนที่เดินเรือของปโตเลมีเมื่อประมาณ พ.ศ. 700 ได้กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมายังแหลมมลายู ว่าจะต้องผ่านแหลม "จังซีลอน" ซึ่งก็คือจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบันนั้นเอง นอกจากนี้ยังปรากฎตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย ว่าภูเก็ตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงค์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศรีวิชัย และในสมัยอาณาจักรศิริธรรมนครเรียกเกาะภูเก็ตว่า "เมืองตะกั่วถลาง" เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตริย์ โดยใช้ตราประจำเมืองเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัยเมืองถลางขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่า

 

                 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้า เพื่อรับซื้อแร่ดีบุกที่ภูเก็ต ดังนั้นเกาะภูเก็ตทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเมืองถลางที่มีคนไทยปกครอง ส่วนทางตะวันตกและทางตอนใต้ของเกาะเป็นเมืองภูเก็ตที่มีชาวต่างชาติเข้ามารับซื้อแร่ดีบุก จนกระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองต่างๆทางใต้เรื่อยมา จนมาถึงเมืองถลางซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลางเพิ่งจะถึงแก่กรรมลง คุณหญิงจันภริยา และคุณหญิงมุกน้องสาวรวบรวมกำลังพลต่อสู้กับพม่าจนแตกพ่ายไปในที่สุด เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งคุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกษัตรี และแต่งตั้งคุณหญิงมุกเป็นท้าวศรีสุนทร ต่อมาเมื่อเมืองภูเก็ตเติบโตขึ้นจากการค้าและเหมืองแร่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้รวบรวมหัวเมืองทะเลทางชายฝั่งตะวันตกเป็นมณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พศ. 2476 ได้ยกเลิกมณฑลภูเก็ตเปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


          ภูเก็ต เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 47.8 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร

ภูเก็ตมีภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อนมีลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูฝนเริ่มเดือนพฤษภาคม-ปลายเดือนตุลาคม ฤดูร้อนเริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายน-เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 33 อาศาเซลเซียส ต่ำสุด 23 องศาเซลเซียส ช่วงที่อากาศดีที่สุด อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ไม่มีฝน ท้องฟ้าแจ่มใส อุณหภูมิประมาณ 31 องศาเซลเซียส

          ประชากรของจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นคนไทย นอกนั้นมีชาวมลายู แขก ซิกซ์ ปาทานกลิงค์กรูซ่า ชาวเล และชาวต่างชาติอื่นๆ ภาษาที่ใช้ในภูเก็ตมี 2 ภาษา คือ ภาษาไทย ซึ่งใช้ในราชการเป็นภาษากลาง และภาษาท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาษาปักษ์ใต้ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อาชีพของพลเมืองในด้านการเกษตรส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้

          ในด้านอุตสาหกรรมมีการทำเหมืองแร่ดีบุก แร่วุลแฟรม การถลุงแร่ดีบุก การทำยางแผ่นรมควัน และการทำปลาป่น ปลากระป๋อง เป็นต้น และขณะนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ขยายตัวอย่างมาก มีการสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐานและมีบริษัทนำเที่ยวเกิดขึ้นหลายแห่ง

 

 

         



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




กินเที่ยวในภูเก็ต

พาไปเที่ยววัด
เที่ยวรอบภูเก็ต article
เมนูอร่อยเฉพาะภูเก็ต article
เทศกาลประเพณี article
ภาษาถิ่นภูเก็ต article
ดอกไม้ประจำจังหวัด article
ภูมิศาสตร์ article
คำขวัญจังหวัด article



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล