

ประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต
ประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต
![]() เดิมประเพณีกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย) ที่ชาวบ้านและชาวจีนที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ตเรียกกันว่า “เจี๊ยะฉ่าย” นั้น เป็นประเพณีที่คนจีนนับถือมาช้านาน โดยเฉพาะคนจีนฮกเกี้ยน คำว่า “เจี๊ยะฉ่าย” (กินผัก) เป็นภาษาท้องถิ่น วันประกอบพิธีตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ (เก้าโง้ยโฉ่ยอีดถึงโฉ่ยเก้า) ตามปฏิทินจีนของทุกๆปี
ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้าน ในทู ซึ่งเป็น บ้านกะทู้ ตำบลกะทู้ จังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน คนจีนเหล่านั้นได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระยาถลาง (เจิม)ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองถลาง และได้ตั้งเมืองภูเก็ตที่บ้านเก็ตโฮ่ ให้พระภูเก็ต (แก้ว) มาเป็นเจ้าเมือง (ระหว่าง พ.ศ. 2368-2400)
![]() คนจีนที่อยู่ในทูสมัยนั้น มีความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องเทพเจ้าประจำตระกูลหรือเทพเจ้าที่คุ้มครองประจำหมู่บ้าน จึงได้มีการอัญเชิญเทพเจ้าแต่ละพระองค์ที่ตนนับถือบูชากราบไหว้ให้มาคุ้มครองปกป้องรักษาตน หรือพวกพ้องที่ได้ทำมาหากินในท้องถิ่นที่ตนพำนักอาศัยให้คนเหล่านั้นอยู่ เย็นเป็นสุขโดยทั่วกันและความเชื่อนี้ยังคงยึดถือจนตราบเท่าทุกวันนี้
![]() ต่อมาได้มีคณะงิ้ว ได้เดินทางมาจากประเทศจีนมาเปิดแสดงที่บ้านในทู ทำการแสดงอยู่ที่บ้านในทูระยะหนึ่ง ได้เกิดมีการเจ็บป่วยเป็นไข้ และจากการเจ็บป่วยครั้งนี้ทำให้คณะงิ้วนึกขึ้นได้ว่าพวกตนไม่ได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย (กินผัก) ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาทุกปีที่เมืองจีน จึงได้ปรึกษาหารือในหมู่คณะ และได้ตกลงกันประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายขึ้นที่โรงงิ้วนั่นเอง หลังจากชาวจีนในทูได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายได้ประมาณ 2-3 ปี ทำให้ชาวจีนที่มาอาศัยทำเหมืองแร่อยู่ตามดงตามป่ามีความเชื่อและศรัทธาเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น ต่อมาโรคภัยไข้เจ็บก็หายไปหมดสิ้น รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บที่เคยเบียดเบียดชาวในทู ก็ลดลงด้วยเช่นกัน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด
ปัจจุบันประเพณีเจี๊ยะฉ่าย (กินผัก) ของชาวภูเก็ตได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาทุกปีนับเวลาได้ หลายร้อยปีแล้วซึ่งถือว่าเป็นประเพณีอันดีงามของชาวภูเก็ต
![]() องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับเ ครือข่ายอ๊าม (ศาลเจ้า) ในจังหวัดภูเก็ตกว่า 30 แห่ง และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ร่วมกันจัดงานประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2565 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 ก.ย. ถึง 4 ต.ค.2565
![]() นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ประเพณีถือศีลกินผักเป็นประเพณีเก่าแก่ของภูเก็ต ปฏิบัติสืบทอดกันมากว่า 100 ปี อีกทั้งราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศให้ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต เป็นมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมประจำจังหวัดภูเก็ต และมรดกของชาติไทยอีกด้วย
![]() การจัดงานประเพณีถือศีลกินผักของภูเก็ต มีจุดประสงค์เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามที่เก่าแก่ของชาวจังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นประจำทุกปี โดยการละเว้น การเบียดเบียนสิ่งมีชีวิต รักษาศีล สำรวมกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ ถือเป็นการเจริญเมตตากรุณา นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว
![]() ในส่วนของ อบจ.ภูเก็ต ได้รณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 เข็มที่ 4 และเข็มที่ 5 เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรค และ อบจ.ภูเก็ต สนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดพิธีส่งเก๊ง (สวดมนต์) เพื่อถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณเวทีกลางสะพานหิน ในวันที่ 27 กันยายน 2565 สนับสนุนชุดตรวจ ATK ให้กับทุกศาลเจ้ารวมกว่า 19,000 ชุด และสนับสนุนข้าวสารให้ศาลเจ้าในจังหวัดภูเก็ตทุกศาลเจ้าเพื่อใช้ในประเพณีถือศีลกินผักด้วย
![]() ปีนี้ สามารถจัดงานประเพณีถือศีลกินผักได้อย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้มาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด ม้าทรงและพี่เลี้ยง รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานในศาลเจ้าทุกคนต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม และตรวจ ATK ทุกๆ 3 วัน โดยตรวจครั้งแรก 2 วันก่อนเริ่มงาน หากผู้ใดมีผลตรวจเป็นบวกให้กักตัว และรักษาที่สถานพยาบาล รวมทั้งงดร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม ขอความร่วมมือม้าทรงให้งดแสดงอภินิหารที่อาจก่อให้เกิดสารคัดหลั่งในปริมาณมาก การคัดกรองอุณหภูมิให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บริหารศาลเจ้า ผู้เข้าร่วมพิธีทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และรักษาระยะห่างตามมาตรการ D-M-H-T-T-A
![]() ขอให้ลดจุดไหว้ให้เหลือเท่าที่จำเป็น และกำหนดจุดปักธูปให้อยู่ภายนอกห้องที่มีอากาศถ่ายเท ห้ามมิให้จำหน่ายประทัด ยกเว้นประทัดแพที่ได้รับอนุญาต และห้ามจุดพลุ ดอกไม้เพลิง เล่นประทัด ดอกไม้เพลิงอันตราย ตามประกาศจังหวัดภูเก็ต จัดโรงครัว การแจกจ่าย และรับประทานอาหารได้แต่ลดความแออัด และสอดคล้องกับแนวทางที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตให้คำแนะนำ และการรวมกลุ่มกันทุกกิจกรรมให้รักษาระยะห่างและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
![]() นอกจากนี้ หากพบผู้ติดเชื้อในบริเวณประกอบพิธีกรรม โรงครัว สถานที่ประกอบอาหาร หรือร้านค้าบริเวณศาลเจ้าให้สถานพยาบาลในพื้นที่นำเข้ารับการรักษา และกักตัวผู้สัมผัสตามมาตรการที่กำหนด และทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หลังจากนั้นให้ผู้ปฏิบัติงานชุดใหม่เข้าปฏิบัติงานต่อได้ หากพบผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากให้อยู่ในดุลพินิจของศาลเจ้าพิจารณาปรับลดกิจกรรม หรือลดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
![]() นายกิตติวงศ์ จันทร์สัตธรรม นายกสมาคมอ๊ามภูเก็ต และประธานอ๊ามจุ้ยตุ่ย เต้าโบ้เก้ง มองว่า การที่จังหวัดอนุญาตให้จัดงานประเพณีถือศีลกินผักได้เต็มรูปแบบ โดยไม่มีการจำกัดจำนวนม้าทรงและผู้เข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ อนุญาตให้มีร้านค้าแผงลอยบริเวณศาลเจ้าได้ รวมทั้งสามารถหิ้วปิ่นโตได้ตามปกติ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะนอกจากจะสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่เก่าแก่ของชาวภูเก็ตแล้ว ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดด้วย โดยขณะนี้ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเชื้อสายจีนในประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น รวมทั้งคนไทยด้วยได้สอบถามข้อมูลการจัดงานและจองห้องพักเข้ามาบ้างแล้ว
![]() นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การจัดงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2565 จังหวัดภูเก็ต ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กันยายน - 4 ตุลาคม 2565 ประเพณีถือศีลกินผัก ยังได้รับประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เรื่องการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2561 ประเภท รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ลักษณะภูมิปัญญาวัฒนธรรมด้านการปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาลด้วย
![]() นางจันทนา สิทธิพันธ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ได้รายงานข้อมูลสรุปผลการหารือมาตรการป้องกันโรคติคเชื้อไวโคโรนา 2019 (COVID-19) ในการจัดกิจกรรมประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ตประจำปี 2565 กำหนดมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (D-M-H-T-T-A) ได้แก่
D : Distancing เว้นระยะระหว่างบุคคล หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น
M : Mask wearing สวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
H : Hand washing ล้างมือบ่อยๆ จัดให้มีจุดบริการเจลล้างมืออย่างทั่วถึง
T : Temperature ตรวจวัดอุณหภูมิ ร่างกายก่อนเข้าใช้บริการ
T : Testing ตรวงหาเชื้อโควิต -19 และ
A : Application ติดตั้งและใช้แอปพลิเคชัน "ไทยชนะ"
![]() และ "หมอชนะ" มีมาตรการด้านการป้องกันโรค ดังนี้
1.ให้แต่แต่ละศาลเจ้าจัดพิธีการได้ โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการ (D-M-H-H-T-T-A) อย่างเคร่งครัด
2. ม้าทรงทุกคนและพี่เลี้ยง รามทั้งผู้ปฏิบัติงานในศาลเจ้าทุกคน ต้องได้รับการฉีควัคซีนครบ 2 เข็ม และทำการตรวจ ATK (Antigen Test Kits) ทุกๆ 3 วันโดยเริ่มทำการตรวจครั้งแรก 2 วันก่อน งานประเพณีถือศีลกินผัก
![]() ทั้งนี้ หากพบว่าผู้ใดมีผลตรวจ ATK เป็นบวก ให้ทำการกักตัวและเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาล รวมไปถึงงดร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม
โดยให้ผู้บริหารศาลเจ้าหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับผิดชอบและควบคุมกำกับกรณีดังกล่าว
3. ขอความร่วมมือม้าทรงให้งดการแสดงอภินิหารที่อาจก่อให้เกิดสารคัดหลั่งในปริมาณมาก
4. การคัดกรองอุณหภูมิให้อยู่ภายใต้ดุลยพินิจของผู้บริหารศาลเจ้า ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมพิธีทุกคน ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และรักษาระยะห่างตามมาตรการ (D-M-H-T-T-A)
5. การลดจุดไหว้ให้เหลือเท่าที่จำเป็นและกำหนดจุดปักรูปให้อยู่ภายนอกห้องที่มีอากาศถ่ายเท
6. ห้ามมิให้ร้านค้าจำหน่ายประทัด (ยกเว้นประหัดแพที่ได้รับอนุญาต) และห้ามจุดพลุ ดอกไม้เพลิง และเล่นประทัด ดอกไม้เพลิงอันตราย ตามประกาศของจังหวัดภูเก็ต
7. การจัดโรงครัวให้แต่ละศาลเจ้ากำหนดรูปแบบและพื้นที่ในการแจกจ่าย และรับประทานอาหาร ที่ลดความแออัดและสอดคล้องกับแนวทางที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตให้คำแนะนำ ภายใต้การควบคุมกำกับของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่
8. การรวมกลุ่มกันของทุกกิจกรรม ให้มีการรักษาระยะห่างและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
![]() มาตรการควบคุมโรค
1) กรณีพบผู้ติดเชื้อในบริเวณประกอบพิธีกรรม หรือโรงครัวหรือสถานที่ประกอบอาหาร หรือร้านค้าบริเวณศาลเจ้า ให้สถานพยาบาลในพื้นที่นำตัวผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษา และกักตัวผู้สัมผัส ตามมาตรการที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หลังจากนั้น ให้ผู้ปฏิบัติงานชุดใหม่เข้าปฏิบัติงานต่อได้
2) ให้ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในศาลเจ้าสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และปฏิบัติตามาตรการ (D-M-H-T-T-A)
3) กรณีพบผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากให้อยู่ในดุลยพินิจของศาลเจ้า ในการพิจารณาปรับลดกิจกรรมหรือลดจำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรม
![]() นายสุธี ศิริอนันต์ จ่าจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงประเด็นการขออนุญาตการจุดพลุดอกไม้ไฟและประทัดว่าห้ามมิให้ร้านค้าจำหน่ายประทัด (ยกเว้นประหัดแพที่ได้รับอนุญาต) และห้ามจุดพลุ ดอกไม้เพลิงและเล่นประทัด ดอกไม้เพลิงอันตราย ทั้งนี้จังหวัดภูเก็ตจะออกหนังสือและประกาศของจังหวัดภูเก็ต อย่างเป็นทางการไปยังศาลเจ้าและอ๊ามทุกแห่งอีกครั้ง ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติกำหนดให้มีการจัดพิธีส่งเก๊ง(สวดมนต์)ถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 27 กันยายน 2565 ณ เวทีกลางสะพานหินนอกจากนี้ที่ประชุมได้ขอความร่วมมือสื่อมวลชนร่วมประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเพณีศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ตเนื่องจากประเพณีศีลกินผักเป็นพิธีกรรม แห่งความเชื่อและความศรัทธา ไม่ใช่การแสดง และยังเป็นมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมประจำจังหวัดภูเก็ตและมรดกของชาติไทยอีกด้วย
![]() นายประสิทธิ์ สินเสาวภาคย์ รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวว่า การสืบทอดประเพณีอันดีงามนี้เป็นการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นประจำทุกปี เป็นการละเว้นการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิต รักษาศีล สำรวมกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ และประชาชนทั่วไปยังสามารถร่วมชมพิธีกรรมสำคัญต่างๆ มากมาย และเพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีสำคัญของจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ตจึงได้ร่วมกับเครือข่ายทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง ร่วมจัดกิจกรรม อาทิ การประดับตกแต่งเมือง, ร่วมจัดพิธีส่งเก๊ง (สวดมนต์) ระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 4 ตุลาคม ณ ลานนวมินทร์ 72 ถนนภูเก็ต การรักษาความสะอาดในพื้นที่และเส้นทางขบวนแห่พระ, ควบคุมการใช้ประทัดในพื้นที่, จัดระเบียบป้ายและธงในพื้นที่, จัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยว, ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบในการปรุงอาหารของร้านค้าและศาลเจ้า ซึ่งการจัดงานจะต้องอยู่ภายใต้มาตรการรองรับโรคระบาดในรูปแบบ (D-M-H-T-T-A)
![]() ส่วน นายธเนศ ตันติพิริยะกิจ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ในปีนี้สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตได้ร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต สภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ได้รับการสนับสนุนจากทีเส็บ จัดกิจกรรม “Gastronomy Chef's Table” เพื่อส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการร้านอาหารในอุตสาหกรรมไมซ์ รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักเดินทางกลุ่มไมซ์ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ทั้งด้านประเพณีและอาหารที่ถูกรังสรรค์ขึ้นโดยเชฟชื่อดังของเมืองภูเก็ต ในวันที่ 25 กันยายน ที่เทศบาลเมืองกะทู้ และวันที่ 27 กันยายน ที่บริเวณชั้น 2 สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี (ลานมังกร) โดยในปีแรกนี้จะเป็นการสร้างการรับรู้ และปีต่อ ๆ ไปจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพในงาน “ประเพณีถือศีลกินผัก ปักธง เพื่อสุขภาพ ให้ภูเก็ตเข้าสู่ Phuket Hub อย่างแท้จริง” ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน - 4 ตุลาคม 2565 ณ เทศบาลกะทู้ เวลา 15:00-22:00 และบริเวณอ๊ามจุ๊ยตุ่ย เวลา 10:00-24:00 น.
![]() ทั้งนี้ ขอเชิญประชาชาชนเข้าร่วมงาน “งานประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต 2565” ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน – 4 ตุลาคม 2565 ณ จังหวัดภูเก็ต ร่วมชำระล้างร่างกายและจิตใจ ไปกับประเพณีอันเก่าแก่ ความเชื่อ ความศรัทธา มนต์เสน่ห์ของอาหารสร้างสรรค์จากชุมชนอ๊ามโบราณ ซึ่งเป็นการกลับมาจัดงานอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้ง หลังจากเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
![]() กำหนดการ ประเพณีถือศีลกินผัก ภูเก็ต
วันที่ 25 กันยายน 2565 วันก่อนเริ่มพิธี ถือศีลกินผัก “เป๊ะโง้ย ซ่าจ้าบยิด”
17.00 น. พิธียกเสาโกเต้ง
23.00 น. ประกอบพิธีเส้เจ่งอ๊าม (ชำระศาลเจ้าด้วยไม้หอม)
23.45 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)
24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง
![]() วันที่ 26 กันยายน 2565 วันที่ 1 ของการถือศีลกินผัก “เก้าโง้ย โช่ยอี๊ด”
ประกอบพิธีโข้กุ้น (พิธีเลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)
ประกอบพิธีซ่งเก้ง(สวดมนต์ )และพิธีถากซ้อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)
![]() วันที่ 27 กันยายน 2565 วันที่ 2 ของการถือศีลกินผัก “เก้าโง้ย โช่ยยี่”
ประกอบพิธีซ่งเก้ง(สวดมนต์) และถากซ้อ(การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)
ปรกอบพิธีป้ายเล่าฉ้ายอิ้ว(พิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณคณะกรรมการอ๊ามผู้ล่วงลับไปแล้ว)
ประกอบพิธีโข้กุ้น(พิธีเลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า
![]() วันที่ 28 กันยายน 2565 – 3 ตุลาคม 2565 วันที่ 3- 8 ของการถือศีลกินผัก
ประกอบพิธีซงเก้ง(สวดมนต์) และถากซ้อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)
ประกอบพิธีติ้นเต็กฮู้ (วางอาณาเขตบริเวณกินผัก)
ประกอบพิธีป้างกุ้น (พิธีปล่อยทหารรักษาบริเวณพิธีงาน)
ประกอบพิธีโข้กุ้น (พิธีเลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)
ประกอบพิธีอัญเชิญลำเต้า- ปักเต้า(พิธีอัญเชิญเทพผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย)
ประกอบพิธีปัวะโป้ยเถ้าแก่-ลอจู้ (พิธีเสี่ยงทายเพื่อเลือกหาผู้ช่วยเหลือรับใช้พระในงานประเพณีถือศีลกินผักปีต่อไป)
ประกอบพิธีอิ้วเก้ง( พิธีแห่พระ (กำหนดการ แต่ละศาลเจ้า เช็คข้อมูล วันและเวลา กับศาลเจ้าแต่ละศาลเจ้าโดยตรง)
![]() วันที่ 4 ตุลาคม 2565 วันสุดท้ายของการถือศีลกินผัก เก้าโง้ย โช่ยเก้า
ประกอบพิธีซ่งเก้ง(สวดมนต์)และถากซ้อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)
ประกอบพิธีโก้ยโห้ย (พิธีลุยไฟและปีนบันไดมีด) บริเวณศาลเจ้า
ประกอบพิธีโข้กุ้น(พิธีเลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)
ประกอบพิธีโก้ยห่าน(สะเดาะเคราะห์)
ประกอบพิธีส่งองค์ยกฮ๋องซ่งเต่(พระอิศวร) และองค์กิ้วฮ๋องไต่เต่(องค์เก้าราชัน)
![]() วันที่ 5 ตุลาคม 2565 วันหลังจากสิ้นสุดประเพณี ถือศีลกินผัก
ประกอบพิธีลงเสาโก้เต้ง
ประกอบพิธีโข้กุ้น(พิธีเลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)
ประกอบพิธีชิวกุ้น(พิธีเรียกทหารกลับ)
![]() ข้อควรปฏิบัติ ผู้ถือศีลกินผัก
ชำระร่างกายให้สะอาดตลอดช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก
ทำความสะอาดเครื่องครัวและแยกใช้คนละส่วนกับผู้ที่ไม่ได้ถือศีลกินผัก
ควรสวมชุดขาวตลอดช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก
ประพฤติตนดีทั้งกายและใจ
ห้ามบริโภคเนื้อสัตว์
ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก
ห้ามดื่มสุราและของมึนเมา
ผู้ที่อยู่ระหว่างไว้ทุกข์ไม่ควรร่วมงานประเพณีถือศีลกินผัก
หญิงมีครรภ์ไม่ควรดูพิธีกรรมใด ๆ ในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก
หญิงมีประจำเดือนไม่ควรร่วมพิธีกรรมใด ๆ ในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก
![]() ![]() ![]() |
สกู๊ปข่าว ภูเก็ต