ReadyPlanet.com


ค่านิยมเกี่ยวกับการกวดวิชา ในภูเก็ตวิทยาลัย


ค่านิยมเกี่ยวกับการกวดวิชา

                ปีที่ผ่านมาถ้าเอ่ยถึง การกวดวิชา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็น การเรียน มีกระแสนิยมอย่างมาก โรงเรียนกวดวิชาดัง ๆ จะเป็นที่รู้จักในหมู่พ่อแม่ผู้ปกครองและนักเรียนได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มนักเรียน ถ้าวันนี้ใครไม่ เรียนกวดวิชา อาจจะพูดได้ว่า “เชย” ไปแล้วแน่ ๆ

“วันหยุดนี้ลูกมีเรียนวิชาภาษาไทยสังคม ประวัติศาสตร์ ตอนบ่ายมีเรียนคณิตศาสตร์ เนื้อหาเกินหลักสูตร 1 ชั้นปีให้เก่งกว่าเพื่อนในชั้น พอสี่โมงต้องไป เรียนภาษาอังกฤษ ตามด้วยฟิสิกช์ เคมี ชีวะ ต่อคะ” คำพูดเช่นตัวอย่างข้างต้นนี้กลายเป็นคำพูดติดปากของผู้ปกครองส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เสียแล้ว

สำหรับเด็กทั่วไป การเรียนกวดวิชาอาจเป็นเรื่องที่ยังไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าไรนัก อาจจะเรียนสัก หนึ่งหรือสองวิชาเพื่อเป็นการเสริมเนื้อหาที่ไม่เข้าใจจริง ๆ หรือบางครั้งก็เรียนกวดวิชาเพราะเพื่อนเรียนกันหมด เลยอยากเรียนบ้าง

หากเป็นกรณีของเด็กที่มีเป้าหมายเรียนต่อมหาวิทยาลัยชั้นนำหรือสอบเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับประเทศ การเรียนกวดวิชาจะถือเป็นเรื่องสำคัญชนิดที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว บ้างพูดว่าเดี๋ยวจะเก่งสู้คนอื่นไม่ได้ บ้างก็พูดว่าการสอนของโรงเรียนดีไม่พอ ทำให้ด้อยกว่าเด็กโรงเรียนอื่น และมีบางครั้งที่เรียนกวดวิชาหลายๆ สถาบันเพื่อ ต้องการย้ำข้อมูลให้แน่นไม่มีตกหล่น เช่น เรียนคณิตศาสตร์กับสถานกวดวิชา สักห้าหรือหกสถาบันในเวลาเดียวกันเพื่อจะได้ทำโจทย์ที่หลากหลาย เป็นต้น

ทั้งนี้การเข้าเรียนกวดวิชานั้น จะมากหรือน้อย โดยส่วนมากมักจะขึ้นอยู่ กับปัจจัยด้านฐานะการเงินของผู้ปกครอง หากมีทุนทรัพย์มาก ก็อาจเรียนได้มากหน่อย หรือในกรณีที่มีน้อยก็มักจะกลัวว่าลูกจะได้เรียนน้อย เก่งไม่เท่าเพื่อน จึงต้องกระเสือกกระสนพยายาม หาทุนเพิ่ม เพื่อจะได้ส่งลูกไปเรียนกวดวิชาที่ดังๆ แพง ๆ เหมือนลูกคนอื่น โดยไม่ได้ตระหนักถึงคำถามที่สำคัญว่าอะไร คือสาเหตุที่แท้จริงในการกวดวิชาและการกวดวิชาทำให้เก่งขึ้นได้จริงหรือ

มีบางท่านเคยให้ความเห็นว่า การเรียนในโรงเรียนเป็นเหมือนอาหารหลัก ซึ่งให้ความรู้พื้นฐานแก่เด็กเพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ขณะที่การกวดวิชาเป็นเหมือนการให้วิตามินเสริมกับนักเรียน เพราะเป็นความรวบรัดและเข้มข้น ถ้าเด็กมีพื้นฐานความรู้ไม่ดีถึงจะกวดวิชาก็ไม่ส่งผลดีต่อตัวเด็ก และต้องยอมรับว่าการกวดวิชามีผลต่อสุขภาพจิตของเด็ก เพราะจะจำกัดกรอบความคิดของเด็กในขณะที่ควรคิดได้มากกว่านั้น ทำให้ไม่มีเวลาทบทวนหนังสือ และจะทำให้เหนื่อยมาก

แต่ถึงแม้การกวดวิชาจะมีผลเสียทั้งต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของนักเรียน ผลสำรวจทั่วประเทศไทยกลับพบว่ามีนักเรียนเรียนกวดวิชามากถึงกว่าถึงร้อยละ30 (สวนดุสิตโพล  2547) ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง และนักเรียนที่กวดวิชาเกือบทุกคนจะใช้เวลาในการกวดวิชา มากถึงอาทิตย์ละ6 – 10 ชั่วโมง เมื่อถามหาสาเหตุในการเลือกที่จะเหนื่อยถึงขนาดนี้ เด็กส่วนใหญ่มักจะตอบว่ากลัวไม่เก่ง ฉะนั้น หากมองย้อนกลับมาดู อะไรคือสิ่งที่ทำให้เด็กนักเรียนกลัวว่าตนเองจะไม่เก่ง ทั้งๆ ที่เด็กทุกคนก็เข้ารับการศึกษาในห้องเรียนเหมือนกัน ระบบการสอนก็เหมือนกันทั้งประเทศ แล้วจะกลัวไม่เก่งกันทำไม

นมุมมองของนักเรียนหรือบุคคลทั่วไป การได้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา  จำเป็นต้องผ่านกระบวนการสอบวัดความรู้ฯ หรือการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ถือเป็นความภาคภูมิใจและความสำเร็จในชีวิตขั้นหนึ่ง อีกทั้งความเชื่อมั่นว่าภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้ว จะนำมาซึ่งหน้าที่การงานและผลตอบแทนที่ดีกว่า

                รงจูงใจ นี้ยังผลักดันให้ทุกคนมีความพยายามสะสมความรู้ความสามารถ เพื่อให้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาให้ได้ หนทางหนึ่งที่นักเรียนส่วนใหญ่เลือกปฏิบัติเพื่อเพิ่มโอกาสในการสอบเข้า คือการเรียนกวดวิชาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเรียนปกติในชั้นเรียน โดยเหตุผลที่ผู้เรียนกวดวิชาให้ไว้กับสวนดุสิตโพล (2547) คือ เพื่อเพิ่มเติมความรู้นอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียน เป็นการช่วยทบทวนความรู้ ช่วยสรุปเนื้อหาให้เข้าใจมากขึ้นจากที่เรียนในชั้นเรียน สร้างความมั่นใจในการสอบเพื่อเพิ่มคะแนนในโรงเรียน และ ได้เทคนิควิธีการคิด การช่วยจำหลายแบบที่ช่วยในการทำข้อสอบ ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลที่ปรากฏในงานของ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2545) เรื่องการกวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทยว่า การกวดวิชาช่วยให้การเรียนดีขึ้น ช่วยในการสอบเข้าศึกษาต่อ ด้วยการแก้ไขข้อบกพร่องหรือเพิ่มเติมเนื้อหา อีกทั้งเพื่อเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนการเรียนในชั้นเรียน

 ไพฑูรย์ ยังพบว่าแต่ละปีมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกวดวิชาประมาณ 3.3 แสนคน หรือประมาณร้อยละ 30 ของนักเรียนทั้งหมด มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจกวดวิชาประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อภาคเรียน ซึ่งเมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าเดินทางจะคิดได้เป็นประมาณ 3,200 ล้านบาทต่อปี

               บางประเทศใหญ่ ๆ อย่างญี่ปุ่นพบว่าความรู้ความสามารถที่มากขึ้น ย่อมส่งผลให้สามารถผลิตองค์ความรู้ใหม่ได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น และยังผลให้เศรษฐกิจของประเทศนั้นเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศที่มีการกวดวิชาสูงล้วนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา และเนื่องจากการเรียนกวดวิชามีขนาดค่อนข้างใหญ่ในระบบเศรษฐกิจดังกล่าว ทั้งที่รัฐบาลได้ใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อให้บริการการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว จึงเกิดเป็นคำถามว่า การกวดวิชานั้นมีความสำคัญต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหรือไม่

                                              ณัฏฐกิตติ์  ไทยเจริญ  ม.5/12 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย



ผู้ตั้งกระทู้ Book Nakato :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-20 23:07:59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3331450)

ผู้จัดทำได้ทำแบบสำรวจขึ้นภายในโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6  จำนวนชั้นละ 20 คน รวม 120 คน ระหว่างวันที่ 15 – 18 สิงหาคม 2554 โดยได้สอบถามเกี่ยวกับ การเรียนกวดวิชา หรือเรียนพิเศษ ภายในวิชาต่างๆ วิชาใดบ้าง  ผลสำรวจนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย    พบว่าเป็น ดังนี้

 

ผลสำรวจพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ เรียนวิชาภาษาอังกฤษมากที่สุด 91.67%

รองลงมาวิชาคณิตศาสตร์ 89.2%

และวิทยาศาสตร์ 76.67% ตามลำดับ  

ทั้งนี้จากการสอบถามพบว่า เนื่องจากอิทธิพลจากผู้ปกครองมากที่สุด ผู้ปกครอง ที่เชื่อว่าภาษาอังกฤษจะสามารถช่วยให้การศึกษาในทุกแผนการเรียนประสบความสำเร็จ และ คะแนนที่ดีในแผนการเรียนสายวิทยาศาสตร์ จะทำให้เด็กสามารถเลือกเข้าคณะได้ทุกคณะ จึงมีความจำเป็นต้องทำคะแนนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ดีที่สุดนั่นเอง

โดยภาษาอังกฤษ 91.67 % นั้น ยังจะมาจากค่านิยมที่ว่า “ต้องรู้อย่างน้อย 2 ภาษา” และด้วยความที่ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีชาวต่างชาติมากมายในไทย ภาษาอังกฤษก็จัดว่าเป็นภาษาที่จำเป็นภาษาหนึ่ง

ภาษาอื่นๆ ถึง 37.5 % ก็มาจากค่านิยมที่หนักข้อเข้าไปอีกคือ “ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะคิดว่า สมัยนี้โลกพัฒนาก้าวหน้าไปมากแล้ว 2 ภาษามันยังน้อยไป ต้องได้ 3 ภาษาขึ้นไป” ด้วยความจริงที่ประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และภายในเวลาไม่นานประเทศไทยจะรวมกลุ่มอาเซียน ภาษาที่ 3 จึงจำเป็นอย่างมากสำหรับบุตรหลานของผู้ปกครอง

โดยจะเห็นได้ชัดว่าเด็กไทยส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับวิชาภาษาไทยและสังคมน้อยมาก เนื่องจากความยากของภาษาไทยเอง และการใช้งานในการสอบเข้า เลือกคณะ นั้น ไม่ได้มีส่วนสักเท่าไหร่

ส่วนวิชาดนตรีส่วนมากจะเรียนช่วง ม.2 – ม.5 เท่านั้น พอขึ้น ม.6 นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้มีเวลาให้ดนตรีมากนัก เพราะต้องเตรียมตัวสอบ Admission นั่นเอง

ในส่วนของเด็กที่ไม่เรียนพิเศษเลยในโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยนั้น พบว่าส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ย ต่ำกว่า 2.50 ซึ่งจริง ๆ แล้ว ทำให้ผู้ปกครองยิ่งร้อนใจอยากจะส่งลูกเรียนพิเศษเข้าไปอีก แต่นักเรียนเหล่านั้นเลือกไม่เรียนพิเศษเลย เนื่องจากพวกเขาไม่มีความต้องการเรียนหนักหลังเวลาเลิกเรียน ซึ่งทำให้พวกเขารู้สึกเครียดอีก

ผลกระทบจากการกวดวิชา

สำหรับผลกระทบจากการกวดวิชานั้น กลุ่มครูมีความเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้น ในทุกประเด็นนั้นมีอยู่ในระดับที่สูง  เช่น ประเด็นเรื่องผู้ปกครองนักเรียนเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น เวลาที่นักเรียนจะอยู่กับครอบครัวลดลง และนักเรียนไม่มีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่น รวมทั้งงานที่ครูสั่ง

สำหรับผลกระทบเรื่องครูที่สอนกวดวิชาอาจปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนปกติได้น้อยลงนั้น ครูที่ไม่ได้สอนกวดวิชามีความเห็นว่าเป็นผลกระทบในระดับที่สูงระดับหนึ่ง

เมื่อพิจารณาเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการกวดวิชา โดยแยกเป็นค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่าในส่วนของค่าเล่าเรียนนั้น มีความหลากหลายแตกต่าง กันค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่พบว่าในกรณีที่เรียนจากโรงเรียนกวดวิชานั้น ค่าเล่าเรียนต่ำสุดจะประมาณ 1,800 บาทต่อครั้ง  บางวิชาสูงถึงประมาณ 3,400 บาทต่อครั้ง  

การแก้ปัญหา

                ข้อเสนอแนะเพื่อการลดการกวดวิชานั้น ผู้ปกครองและนักเรียนส่วนใหญ่ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า ต้องพัฒนาการสอนของครูในโรงเรียนให้ดีขึ้นเป็นปริมาณมากที่สุด นอกจากนั้นแล้วยังเสนอว่าต้องพัฒนาให้โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยทุกแห่ง มีคุณภาพเท่าเทียมกัน  

โดยภาพรวมแล้ว รายงานเรื่องนี้ได้ยืนยันปัญหาการศึกษาของไทยที่มีมาเป็นเวลายาวนานนั้นสูง สะท้อนปัญหาสำคัญของการศึกษาไทย คือ เน้นการเรียนการสอนที่ยังเน้นการสอบสูง มีการแข่งขันตามมามาก และการเรียนการสอนในโรงเรียนยังมีปัญหามากโดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ ระบบดังกล่าวนำ ไปสู่ค่านิยมของการเรียนกวดวิชา เพื่อนำไปสู่การเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัยในสถาบันมีชื่อ ทางแก้จึงกลับมาอยู่ที่พื้นฐานหลักคือการส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาการสอนอย่างแท้จริงและมีคุณภาพสูงพร้อมทั้งมีความสนุกและน่าสนใจ  ในส่วนของการกวดวิชา รัฐจะต้องร่วมมือกับเด็ก ผู้ปกครอง โรงเรียนกวดวิชาเอง กำหนดเกณฑ์คุณภาพของโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาแล้วดูแลให้ปฏิบัติได้

 

                                                                 ณัฏฐกิตติ์  ไทยเจริญ  ม.5/12 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Book Nakato วันที่ตอบ 2011-08-20 23:16:56



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล