ReadyPlanet.com


อุตุภูเก็ตเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการพายุไซโคลน


กรมอุตุนิยมวิทยาร่วมกับ WMO และ UNESCAP เป็นเจ้าภาพจัดประชุม

คณะกรรมการพายุไซโคลน สมัยที่ 37

 

กรมอุตุนิยมวิทยา ร่วมกับ WMO และ UNESCAP เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการพายุไซโคลน  สมัยที่ 37 ณ จังหวัดภูเก็ต เพื่อพิจารณาผลกระทบของพายุ ไซโคลน ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอ่าวเบงกอลและทะเลอาราเบียน      พร้อมทั้งหารือในกิจกรรมและกำหนดมาตรการด้านทางอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา และแนวทางการเตรียมพร้อมป้องกันภัยพิบัติเพื่อรับมือ และลดความสูญเสียจากพายุที่เกิดขึ้นในภูมิภาค

กรมอุตุนิยมวิทยา ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO)                   และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : UNESCAP) เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการพายุไซโคลน สมัยที่ 37               (the thirty-seventh session of the WMO/UNESCAP Panel on Tropical Cyclones) ณ จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ 2553 โดยจัดให้มีพิธีเปิดประชุมอย่างเป็นทางการ ในวันจันทร์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 9.30 น.-10.00 น. ณ ห้องดาหลา โรงแรมภูเก็ต เกรซแลนด์ รีสอร์ทแอนด์สปา ในการนี้ นายอังสุมาล ศุนาลัย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และ เป็นประธานในพิธีเปิดประชุม โดยมีนายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต Mr. Tokiyochi Toya ผู้แทน WMO, Mr. Yuichi Ono ผู้แทน ESCAP และ Dr. Qamar-Uz-Maman Chaudhry เลขาธิการคณะกรรมการ           พายุไซโคลน ร่วมกล่าวสุนทรพจน์    

คณะกรรมการพายุไซโคลน (PTC) ก่อกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2516 ภายใต้การอุปถัมภ์ของ WMO และ UNESCAP ปัจจุบันมีสำนักเลขาธิการของคณะกรรมการฯ (PTC Secretariat) ตั้งอยู่ที่ปากีสถาน โดยมีวัตถุประสงค์                เพื่อพิจารณาผลกระทบของพายุไซโคลนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอ่าวเบงกอลและทะเลอาราเบียน พร้อมทั้งหารือในกิจกรรม           และกำหนดมาตรการทางด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา และแนวทางการเตรียมพร้อมป้องกันภัยพิบัติเพื่อรับมือ และลด             ความเสียหายจากพายุที่เกิดขึ้นในภูมิภาค โดยกำหนดให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการฯ ปีละครั้ง และหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ โดยจะมีผู้แทนจาก WMO, UNESCAP และประเทศสมาชิกคณะกรรมการพายุไซโคลน 8 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย บังคลาเทศ อินเดีย มัลดีฟส์ พม่า โอมาน ปากีสถาน ศรีลังกา และประเทศไทย เข้าร่วมประชุม นอกจากนี้จะมีผู้แทนจากหน่วยงานและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องได้รับเชิญ ให้เข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ ADPC, ICAO, ICHARM, IIT, IOC และ UNEP รวมทั้งสิ้น ประมาณ 40 คน สำหรับ  ประเทศไทยคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการประชุมครั้งนี้ในด้านการเพิ่มความแข็งแกร่งของความร่วมมือด้านวิชาการ และปฏิบัติการด้านอุตุนิยมวิทยา โดยเฉพาะการเฝ้าระวัง การพยากรณ์ และเตือนภัยพายุไซโคลน ระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในภูมิภาค และเพิ่มศักยภาพในการเฝ้าระวังและเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับความผันแปรของภัยธรรมชาติต่างๆ อันเนื่องมาจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะผลกระทบต่อความรุนแรง เส้นทางเดิน และความถี่  ของการเกิดพายุไซโคลน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

15 กุมภาพันธ์ 2553



ผู้ตั้งกระทู้ สันทัศน์ :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-11 10:06:09


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล