โครงการภูเก็ตเมืองปลอดพลาสติก สรุปผลโพลครั้งที่ 1 การสำรวจการดำเนินการ โครงการภูเก็ตเมืองปลอดพลาสติก โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับ World class ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับจังหวัดภูเก็ตมีประชากรในทะเบียนราษฎรและประชากรแฝงกว่า 8 แสนคน เมื่อรวมกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ไม่สามารถรองรับได้อย่างเพียงพอ หรือปัญหามลพิษด้านด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาขยะที่พบว่าขณะนี้จังหวัดภูเก็ตมีปริมาณขยะมากกว่า 500 ตันต่อวัน ขณะที่ระบบที่มีอยู่สามารถรองรับการกำจัดได้เพียงวันละ 250 ตัน ทำให้เกิดปัญหาภาวะขยะล้นเมือง ส่งกลิ่นเหม็นและบดบังทัศนียภาพ กระทบกับภาพลักษณ์การเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างรุนแรง โดยเฉพาะขยะจากพลาสติกที่มีมากกว่าร้อยละ 20 ของขยะทั้งหมด ดังนั้นที่ผู้เกี่ยวทุกระดับต่างก็มีความตระหนักในเรื่องดังกล่าว จึงได้รณรงค์ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ร่วมกัน โดยเริ่มจากการที่จังหวัดภูเก็ตได้ขอความร่วมมือให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมรณรงค์ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2552 ต่อมาในวันที่ 4 ธันวาคม 2552 จังหวัดภูเก็ตร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและห้างสรรพสินค้าในจังหวัด 22 แห่งได้ร่วมลงนามบันทึกตกลงความร่วมมือโครงการภูเก็ตปลอดถุงพลาสติก และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งตรงกับวันแห่งความรัก ทางจังหวัดภูเก็ตได้รณรงค์ใหญ่อีกครั้ง โดยครั้งนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางในทุกๆ สื่อ โดยมีรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติได้ให้ความร่วมมือและร่วมรณรงค์ในกิจกรรมครั้งนี้ โดยหวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะมีส่วนช่วยปลุกจิตสำนึกให้ทุกฝ่ายตระหนักในความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องลดปริมาณขยะพลาสติกให้ได้ ซึ่งหากผลของการรณรงค์ครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้ จะทำให้จังหวัดภูเก็ตสามารถลดขยะพลาสติกได้ไม่น้อยกว่าปีละ 5,000 ตัน อันดามันโพล โดย รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ตเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดีเห็นควรสนับสนุนให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ อย่างไรก็ตามยังเกิดคำถามในเรื่องของการรับรู้ของประชาชนว่ามีเพียงใด ตลอดจนเมื่อรับทราบแล้วจะมีความคิดเห็นหรือเจตคติต่อเรื่องนี้อย่างไร ทางอันดามันโพลจึงได้ทำการสำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องนี้ ซึ่งในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจะใช้ฐานของประชากรในทะเบียนราษฎร์และประชากรแฝงในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 800,000 คน โดยยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ร้อยละ 5 ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ได้กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลจำนวน 420 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้ทำการสุ่ม 6 พื้นที่ แบ่งเป็นตลาดสด 3 แห่งคือตลาดสดบ่านส้าน ตลาดสดกะทู้และตลาดสดราชภัฏ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 3 แห่งคือห้างเซลทรัล ห้างบ็กซีและห้างโลตัส โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างพื้นที่ละเท่าๆ กัน วิธีการสุ่มใช้การสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ผลการสำรวจปรากฏดังไปนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างใช้ภาชนะบรรจุใดใส่ของในวันสำรวจ (20 กุมภาพันธ์ 53) ถุงพลาสติก 74.59 % ภาชนะอื่นที่ไม่พลาสติก เช่น ถุงผ้า ตะกร้า 25.41 % 2. กลุ่มตัวอย่างรับทราบโครงการภูเก็ตเมืองปลอดพลาสติกหรือไม่ ไม่ทราบ 47.29 % ทราบ 52.71 % 3. กลุ่มตัวอย่างที่ทราบโครงการทราบจากสื่อใด 1) ป้ายประชาสัมพันธ์ 52.68 % 2) การรณรงค์ของหน่วยงานต่างๆ 17.41 % 3) โทรทัศน์ 14.73 % 4) วิทยุ 9.37 % 5) หนังสือพิมพ์ 2.68 % 6) อินเตอร์เน็ต 1.79 % 7) อื่นๆ (เช่นเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิด) 1.34 % 4. พฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างมีการใช้ถุงผ้าหรือสิ่งอื่นแทนการใส่ถุงพลาสติกเพียงใด 4.1 กลุ่มที่ไม่ทราบโครงการ
4.2 กลุ่มที่ทราบโครงการ
5. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อโครงการว่าเห็นด้วยหรือไม่ เห็นด้วย 97.41 % ไม่เห็นด้วย 2.59 % 6. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกจะช่วยลดขยะพลาสติกใน จังหวัดภูเก็ตได้หรือไม่ ได้ 67.06 % ไม่ได้ 8.47 % ไม่แน่ใจ 24.47 % 7. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการรณรงค์การใช้ถุงพลาสติกในครั้งนี้ว่ามีผลทำให้คนหันมาใช้ถุงผ้า มากขึ้นหรือไม่ มีผล 61.65 % ไม่มีผล 6.82 % ไม่แน่ใจ 31.53 % 8. กลุ่มตัวอย่างทราบหรือไม่ว่าการลดขยะพลาสติกจะช่วยลดโลกร้อนได้ ทราบ 96.47 % ไม่ทราบ 3.53 % 9. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างว่าปัจจัยใดที่เป็นอุปสรรคมากกว่ากันในการรณรงค์ให้ผู้คนหันมาใช้ถุงผ้า ความสะดวก 83.06 % ราคาถุงผ้า 16.94 % 10. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างว่ายินดีจะใช้ถุงผ้าหรือไม่ถ้ามีส่วนลดให้ ใช้ 84.24 % ไม่ใช้ 2.35 % ไม่แน่ใจ 13.41 % 11. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อส่วนลดอย่างน้อยที่สุดเท่าไรต่อครั้งจึงมีแนวโน้มที่ยินดีที่จะใช้ ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกโดยไม่พิจารณายอดรวม ไม่สนใจจะใช้ 0.94 % 5 บาท 28.00 % 10 บาท 29.41 % 15 บาท 8.71 % 20 บาท 32.94 % 12. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อถุงผ้ามากที่สุด ความสะดวกในการซื้อถุง 27.29 % ความคงทน 24.94 % ดีไซด์และความสวยงาม 24.00 % ราคา 17.18 % ขนาดที่เหมาะสม 6.59 % 13. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อถุงผ้ามากที่สุด จำแนกตามอายุ
ข้อเสนอแนะการนำผลโพลไปใช้ 1. ผลโพลแสดงให้เห็นว่าการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับทราบโครงการยังไม่ได้ผล เพราะมีประชาชนรับทราบโครงการนี้เพียง 52 % จึงเห็นควรมีการเพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการ โดยใช้สื่อประเภทป้ายประชาสัมพันธ์เพราะให้ผลดีกว่าสื่อประเภทอื่นๆ 2. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนใช้ถุงพลาสติกเพราะคิดว่ามีความสะดวกกว่าการใช้ถุงผ้า ดังนั้นการรณรงค์เพื่อให้คนหันมาใช้ถุงผ้าจึงจำเป็นต้องปลูกจิตสำนึก โดยเฉพาะประเด็นที่ทุกคนต้องร่วมมือกันเพื่อลดภาวะโลกร้อน 3. จากโพลแสดงให้เห็นว่าหากมีมาตรการส่วนลดราคาให้แก่ผู้ที่ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ผู้คนยินดีจะหันมาใช้ถุงผ้าและส่วนลดที่มีผลทางด้านจิตใจที่คนยินดีจะร่วมโครงการนี้น่าจะเป็นส่วนลดที่สามารถตีเป็นค่าเงินประมาณ 5 หรือ 10 บาท เพราะเป็นตัวเลขที่คนใช้บริการเห็นว่าคุ้มค่ากับการแลกความสะดวกทั้งนี้การกำหนดราคายอดรวมขั้นต่ำอาจจะเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องมาพิจารณาร่วมกัน 4. ปัจจัยเกี่ยวกับความสะดวกในการหาซื้อถุงผ้าเป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญในการตัดสินใจของคนในการหันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ดังนั้นองค์กรส่วนท้องถิ่น ห้างร้านหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องควรดำเนินเรืองนี้เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความสะดวกในการซื้อถุงผ้าหรือหากเป็นการแจกฟรีจะยิ่งเป็นการดี |